วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย
ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ
3. ทรงเป็นพุทธมามกะ และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา รองประธานสภา ผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร
6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา
7. ทรงไว้พระราชอำนาจในด้านการตรา พระราชบัญญัติ พระราชกฤฏีกา พระราชกำหนดเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยและ ความมั่นคงทางเศษฐกิจของประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติของสาธารณะ
8. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนองคมนตรี
9. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐบาลนำทูลเกล้าฯถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย
10. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
11. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรี
12. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษา ตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งราชการฝ่ายทหารและพลเรือนระดับสูง
13. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
14. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
นอกจากนี้ยังมีพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระราชอำนาจอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์อีกด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น