วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส 1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค 1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การประสานประโยชน์ การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก

สิทธิมนุยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ประเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ๑) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ -เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา -รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย -บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความดูแล ๙ ปี ดดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -การจัดการศึกษามมี ๓ รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย 2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว 3. กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา 4. กฎหมายอาญา 5. โมฆกรรมและโมฆียกรรม 6. กฎหมายอื่นที่สำคัญ 7. ข้อตกลงระหว่างประเทศ

ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้ 1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้ 2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ 3. ทรงเป็นพุทธมามกะ และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก 4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา รองประธานสภา ผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร 6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา 7. ทรงไว้พระราชอำนาจในด้านการตรา พระราชบัญญัติ พระราชกฤฏีกา พระราชกำหนดเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยและ ความมั่นคงทางเศษฐกิจของประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติของสาธารณะ 8. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนองคมนตรี 9. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐบาลนำทูลเกล้าฯถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย 10. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ 11. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรี 12. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษา ตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งราชการฝ่ายทหารและพลเรือนระดับสูง 13. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ 14. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ นอกจากนี้ยังมีพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระราชอำนาจอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์อีกด้วย

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น

คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดี

คุณลักษณะพลเมืองดี คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า มีดังนี้ 1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย 2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น 3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว ดรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก 4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล ใจกว้าง และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ 5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน 6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่ เช่น ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น เป็นต้น 7.ต้องเป็นบุคคลที่มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางการเมืองการปกครอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น

พลเมืองดี

คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า มีดังนี้ 1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย 2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น 3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว ดรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก 4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล ใจกว้าง และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ 5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน 6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่ เช่น ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น เป็นต้น 7.ต้องเป็นบุคคลที่มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางการเมืองการปกครอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น พลเมืองที่ดีมีคุณลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัว โรงเรียน ประเทศชาติ และสังคมโลกเสมอ ประเทศใดก็ตามที่มีพลเมืองดีเป็นจำนวนมาก ประเทศนั้นก็จะมีแต่ความสงบสุขและเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

การเลือกรับวัฒนธรรมสากล

ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์แห่งโลกไร้พรมแดนที่คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆทั่วโลกได้ง่าย ผ่านทางโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติหรือวัฒนธรรมสากลเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยอย่างรวดเร็ว เพิ่มเติม

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม หรือบริบทของสังคมนั้นๆ แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา เรียกกันว่า “วัฒนธรรม เพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

สิ่งที่คนไทยกำหนดสร้างขึ้น มีการเรียนรู้สืบต่อกันมามีลักษณะที่แสดงออกถึงความงอกงาม ความเป็นระเบียบร้อย ความกลมเกลียว ตลอดจนการมีศีลธรรมอันดีของสมาชิกไทย เช่น การใช้ภาษาไทย การรู้จักเคารพผู้อาวุโส การไหว้ ศิลปกรรม แบบไทย อาหารไทย รวมทั้งการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามกาลเทศะเหมาะสมตาฐานะและวัย เพิ้มเติม

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพิ่มเติม

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม เพิ่มเติม

แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม

แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อให้ได้กลไกทางสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายในและจากปัจจัยภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติและกลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา เพิ่มเติม

ปัญหาทางสังคม

ปัญหาสังคมไทย ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น เพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี เพิ่มเติม